วัด
พระอารามหลวง
14 วัด
วัดราษฎร์
413 วัด
สำนักสงฆ์
8 วัด
ที่พักสงฆ์
18 วัด
วัดร้าง
3 วัด
วัดทั้งหมด
456 วัด
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
256 รูป
สามเณร
33 รูป
แม่ชี
9 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
5 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
303 รูป/คน
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
0 รูป
สามเณร
0 รูป
แม่ชี
0 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
0 รูป/คน
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
215 รูป
ลาสิกขา
9 รูป
มรณภาพ
3 รูป
รายชื่อวัด
ที่สามารถเข้าระบบได้ล่าสุด
จ. สุพรรณบุรี
วันที่ 14-03-2567
จ. ราชบุรี
วันที่ 24-02-2567
จ. เชียงราย
วันที่ 13-02-2567
จ. สิงห์บุรี
วันที่ 13-02-2567
จ. พิษณุโลก
วันที่ 13-02-2567
จ. พิจิตร
วันที่ 29-01-2567
จ. อุบลราชธานี
วันที่ 25-01-2567
จ. เชียงราย
วันที่ 13-01-2567
จ. สุพรรณบุรี
วันที่ 15-11-2566
QR Code วัดพุสวรรค์
รหัสวัด :
02760805002
ชื่อวัด :
วัดพุสวรรค์
นิกาย :
มหานิกาย
ประเภทวัด :
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด :
วันที่ 28 เดือน กรกฎาคม ปี 2553
วันรับวิสุงคามสีมา :
-
ที่อยู่ :
วัดพุสวรรค์
เลขที่ :
319
หมู่ที่ :
2
ซอย :
-
ถนน :
-
แขวง / ตำบล :
พุสวรรค์
เขต / อำเภอ :
แก่งกระจาน
จังหวัด :
เพชรบุรี
ไปรษณีย์ :
76170
เนื้อที่ :
- ไร่
- งาน
- ตารางวา
มือถือ :
0810408584
อีเมล์ :
watpusawan@gmail.com
จำนวนเข้าดู :
2197
ปรับปรุงล่าสุด :
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 14:35:30
ข้อมูลเมื่อ :
2 มิถุนายน พ.ศ. 2561 09:08:24
 
 
 
 
ประวัติวัดพุสวรรค์

ที่ตั้ง วัดพุสวรรค์ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ ๒บ้านหนองบัว ตำบลพุสวรรค์ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
ทิศตะวันออก  ติดที่ดินของชาวบ้าน หมู่ ๒ ต.พุสวรรค์ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี 
ทิศตะวันตก    ติดทางหลวงแผ่นดิน 
ทิศเหนือ  ติดทางเข้าหมู่บ้านหนองบัว หมู่ ๒ ต.พุสวรรค์ อ.แก่งกระจาน 
ทิศใต้  ติดอุทยานศาสนาพระโพธิสัตว์กวนอิม
เนื้อที่วัด บริเวณที่ตั้งวัด  มีเนื้อที่จำนวน  ๗ ไร่ ๘ ตารางวา  ต่อมา ได้ซื้อที่ดินขยายออกไปอีก ๒๙ ไร่เศษ และได้รับบริจาคเพิ่มขึ้นอีก ๒๙ ไร่  รวมพื้นที่ดินทั้งหมดประมาณ ๖๕ ไร่เศษ

ความเป็นมา 
สถานภาพเดิม คือ ชมรมพัฒนาทางจิต ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ โดยคุณทวีศักดิ์ ผกาภรณ์ และคุณทศพล เพ็ญบูลย์ ได้จัดให้มีการปฏิบัติธรรมบริเวณป่าไผ่ในอุทยานศาสนาพระโพธิสัตว์กวนอิมเป็นประจำทุกเดือน  ต่อมาเมื่ออุทยานศาสนาฯ ได้เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว  มีศาสนิกชนมาเที่ยวชมไหว้พระมากขึ้นทุกวัน ทำให้สถานที่จัดอบรมปฏิบัติธรรมไม่สงบอีกต่อไป  จึงแสวงหาที่ใหม่
พ.ศ.๒๕๔๒ 
ได้ซื้อที่ดินด้านข้างอุทยานศาสนาฯ ก่อสร้างเป็นสถานที่อบรมและปฏิบัติธรรมขึ้นใหม่ ให้ชื่อว่า "ชมรมพัฒนาทางจิต"  
เริ่มก่อสร้างอาคารทรงไทย ๒ ชั้น ๑ หลัง ใช้ชื่อว่า “ศาลาชินนะรังษี” เพื่อใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมปฏิบัติธรรม โรงอาหาร ๑ หลัง ศาลาหรือโบสถ์กลางน้ำ ๑ หลัง กุฏิหรือที่พักผู้ปฏิบัติธรรมเดี่ยว รวม ๖ หลัง ที่พักผู้ปฏิบัติธรรมหมู่ ๑ หลัง ปรับแต่งสถานที่ให้ร่มรื่น โดยปลูกต้นไม้ ชนิดต่างๆ และพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา พระประธานบนศาลาชินนะรังษี ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ถวายพระนามว่า “พระพุทธรังสีส่องโลก”                
วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๒ วันมาฆบูชา  ได้กราบอาราธนา พระเทพสุวรรณมุนี เจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ  อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เป็นประธานพิธีประดิษฐานและเจิมพระธรรมจักรหินแกรนิต ขนาดใหญ่
พ.ศ.๒๕๔๓  ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
๑. จัดบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เดือนเมษายน เป็นครั้งแรก  โดยพระสุธีวัชโรดม รองเจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์
๒. จัดเททองหล่อพระประธาน ปางปฐมเทศนาขึ้น ในวันฉัตรมงคล ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๓ ม.ร.ว.วิบูลยดิศ ดิศกุล เป็นประธานพิธีเททอง และ พ.ต.อ.ชัยชาญ เงินมูล เป็นประธานจัดงาน
พ.ศ.๒๕๔๔ 
ยกสถานที่ให้เป็นที่พักสงฆ์  เพื่อจัดตั้งเป็นวัดต่อไป  มีพระสงฆ์จำพรรษาครบ ๕ รูป  หัวหน้าที่พักสงฆ์รูปแรก คือ พระโสภณ  พัสสะโสภโณ  ปีนี้ทอดกฐินสามัคคีเป็นครั้งแรก  ได้ปัจจัยซื้อที่ดินเพิ่มเติม
พ.ศ.๒๕๔๕  
๑. วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๕  จัดพิธีวางศิลามงคลฐานตั้งพระศรีอริยเมตไตรย  ประธานในพิธีคือหม่อมเจ้าวัฒนานุวัฒน์  วัฒนวงศ์   ประธานจัดงานคือ ดร.ทองเหมาะ  จำปาเงิน
๒. จัดบรรพชา สามเณร ภาคฤดูร้อนครั้งที่ ๒  วันที่ ๑ ถึง ๓๐ เมษายน พ.ศ ๒๕๔๕   พระสุธีวัชโรดมเป็นพระอุปัชฌาย์
๓. วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๕ วันวิสาขบูชา  เปิดพระตำหนักพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านหน้าวัด หม่อมเจ้าหญิงกิติปิยา  กิติยากร เป็นประธานในพิธี และคุณหญิงพันทิพา ยุทธวงศ์ เป็นประธานจัดงาน
๔.วันที่ ๒๔ กรกฎาคม  พ.ศ.๒๕๔๕  วันอาสาฬหบูชา  จัดพิธีเททองหล่อองค์สมมติพระบรมโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย (องค์ต้นแบบ)  ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน  สินธวานนท์  องคมนตรี เป็นประธานพิธี และนาวาเอกสุพพัต ยุทธวงศ์  ร.น. เป็นประธานจัดงาน
๕. วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๕ เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา  ได้ฤกษ์ขึ้นป้ายชื่อ วัดพุสวรรค์
๖. วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๕  ทอดกฐินสามัคคีเป็นปีที่ ๒  ปัจจัยที่ได้ สมทบสร้างพระศรีอริยเมตไตรยหินหยกขาวสูง ๙ เมตร
พ.ศ.๒๕๔๖ 
๑. จัดทอดกฐินสามัคคี เป็นปีที่ สาม วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๖  พ.ต.อ.วาสนา  เพิ่มลาภ เป็นประธานทอดกฐิน  พ.ต.อ.ชัยชาญ เงินมูล เป็นประธานจัดงาน
วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๑  สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประกาศอนุญาตให้สร้างวัดพุสวรรค์ได้ 
พ.ศ.๒๕๕๓
๑. วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓  อัญเชิญ องค์สมมติพระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรยหินหยกขาวขึ้นประดิษฐานไว้ที่บริเวณแท่นด้านหน้าวัด 
๒. วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๓  สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประกาศ ตั้งที่พักสงฆ์พัฒนาทางจิต เป็น วัดพุสวรรค์
๓. วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓  พระราชสุวรรณมุนี เจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี ประกาศแต่งตั้ง พระธีระพันธ์ อภิชาโต เป็นเจ้าอาวาสวัดพุสวรรค์