วัด
พระอารามหลวง
14 วัด
วัดราษฎร์
413 วัด
สำนักสงฆ์
8 วัด
ที่พักสงฆ์
18 วัด
วัดร้าง
3 วัด
วัดทั้งหมด
456 วัด
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
256 รูป
สามเณร
33 รูป
แม่ชี
9 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
5 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
303 รูป/คน
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
0 รูป
สามเณร
0 รูป
แม่ชี
0 รูป
ภิกษุณี
0 รูป
สามเณรี
0 รูป
ศิษย์วัด
0 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
0 รูป/คน
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
215 รูป
ลาสิกขา
9 รูป
มรณภาพ
3 รูป
รายชื่อวัด
ที่สามารถเข้าระบบได้ล่าสุด
จ. สุพรรณบุรี
วันที่ 14-03-2567
จ. ราชบุรี
วันที่ 24-02-2567
จ. เชียงราย
วันที่ 13-02-2567
จ. สิงห์บุรี
วันที่ 13-02-2567
จ. พิษณุโลก
วันที่ 13-02-2567
จ. พิจิตร
วันที่ 29-01-2567
จ. อุบลราชธานี
วันที่ 25-01-2567
จ. เชียงราย
วันที่ 13-01-2567
จ. สุพรรณบุรี
วันที่ 15-11-2566
QR Code วัดบรรพตาวาส
รหัสวัด :
02760501001
ชื่อวัด :
วัดบรรพตาวาส
นิกาย :
อื่น ๆ
ประเภทวัด :
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด :
ปี 2404
วันรับวิสุงคามสีมา :
วันที่ 20 เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2520
ที่อยู่ :
บ้านเขากระจิว
เลขที่ :
93
หมู่ที่ :
6
ซอย :
-
ถนน :
-
แขวง / ตำบล :
น้ำอ่าง
เขต / อำเภอ :
ตรอน
จังหวัด :
อุตรดิตถ์
ไปรษณีย์ :
76130
เนื้อที่ :
38 ไร่
2 งาน
3 ตารางวา
มือถือ :
092 491 5794
โทรศัพท์ :
0 32 461 062
คุณสมบัติวัด :
เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
จำนวนเข้าดู :
4287
ปรับปรุงล่าสุด :
2 มิถุนายน พ.ศ. 2561 09:08:24
ข้อมูลเมื่อ :
2 มิถุนายน พ.ศ. 2561 09:08:24
 
 
 
 

แบบกรอกประวัติวัด

วัด    บรรพตาวาส             ชื่อที่ชาวบ้านเรียกว่า  วัดเขากระจิว                .

ชื่อเดิม(ถ้ามี)           -                      ตั้งอยู่บ้านเลขที่           ๙๓                           .

ถนน         -                                      ซอย                -              บ้าน  เขากระจิว หมู่ที่    ๖            .

ตำบล             ท่ายาง                     อำเภอ          ท่ายาง            จังหวัด           เพชรบุรี               .

สังกัดคณะสงฆ์ (-) มหานิกาย  (ü) ธรรมยุต

การตั้งวัด

          ๑.กรณีที่เป็นวัดที่ตั้งขึ้นก่อนที่วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๖  ซึ่งเป็นวันที่กฎกระทรวงศึกษาธิการออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์      พุทธศักราช       ๒๔๘๔  มีผลบังคับใช้ ได้ตั้งวัดเมื่อ
            ๒.ถ้าเป็นวัดที่ตั้งขึ้นหลัง วันที่     ๑๕    กุมภาพันธ์    ๒๔๘๖      ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด
            เมื่อวันที่     -        เดือน                     พ.ศ.       -    กระทรวงศึกษาธิการประกาศ ตั้งเป็น
            วัดเมื่อ วันที่        -      เดือน         -       พ.ศ.  ๒๕๔๔๐

ครั้งที่ ๑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓๑ เดือน พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๔๙

          เขตวิสุงคามสีมากว้าง  ๘  วา   ๑  คืบ ยาว ๑๓ วา ๑ ศอก
ครั้งที่ ๒ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๑ เดือน มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๒๐
          เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๔๐ วา ยาว  ๘๐  เมตร
                       ที่ดินเฉพาะบริเวณที่ตั้ง มีเนื้อที่         ๓๗          ไร่           -          งาน   -            ตารางวา
ได้มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็น  ( -) โฉนด ( - )  น.ส.๓ (-) ส.ค.๑ เลขที่          -                  .
            กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็น  ( ü)   วัด เอกชน (-) ราชการอยู่ในเขต (-) ป่าสงวน (-)     สาธารณะประโยชน์ (-) ราชพัสดุ (-) อื่น ๆ (ระบุ)
            อาณาเขต
            ทิศเหนือ            ยาว         ๔           เส้น     -     วา       –        ศอก จด หมู่บ้านเขากระจิว
            ทิศใต้                ยาว         ๓           เส้น     ๓    วา      ๓       ศอก จด   ภูเขากระจิว
            ทิศตะวันออก     ยาว         ๕           เส้น     ๙    วา      ๓       ศอก จด  ภูเขากระจิว
            ทิศตะวันตก       ยาว          ๖          เส้น   ๑๓    วา      ๒       ศอก  จดหมู่บ้านเขากระจิว
ที่ธรณีสงฆ์ (ไม่รวมกับที่ดินตั้งวัดข้างต้นนี้) มี แปลง รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น                   ๕๕             ไร่    
    ๗๐     งาน           ๓๒๔              ตารางวา คือ
 ๑.แปลที่ ๑ ตั้งอยู่ที่ ตำบล        ท่ายาง          อำเภอ          ท่ายาง                           .
จัดหวัด        เพชรบุรี       มี  เนื้อที่          -        ไร่            ๒           งาน         -       ตารางวา
มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน  คือ  โฉนดที่ดิน            เลขที่          ๑๙๕๕๓   
 ๒.แปลที่ ๒ ตั้งอยู่ที่ ตำบล        ท่ายาง          อำเภอ          ท่ายาง                           .
จัดหวัด        เพชรบุรี       มี  เนื้อที่          ๒        ไร่            ๓           งาน         ๑๐       ตารางวา
มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน  คือ  โฉนดที่ดิน            เลขที่          ๑๐๔๓                .   
 ๓.แปลที่ ๓ ตั้งอยู่ที่ ตำบล        แขวงราชาธิวาส          อำเภอ          ราชาธิวาส                          .
จัดหวัด        พระนคร       มี  เนื้อที่         ๑๑        ไร่            ๑           งาน        ๘       ตารางวา
มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน  คือ  โฉนดที่ดิน            เลขที่          ๑๙๕๕๓                               .   
 ๔.แปลที่ ๔  ตั้งอยู่ที่ ตำบล        ท่ายาง          อำเภอ          ท่ายาง                           .
จัดหวัด        เพชรบุรี       มี  เนื้อที่          ๖        ไร่            ๓           งาน         ๓๖       ตารางวา
มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน  คือ  โฉนดที่ดิน            เลขที่          ๗๐๒๕                           .   
 ๕.แปลที่ ๕  ตั้งอยู่ที่ ตำบล        มาบปลาเค้า          อำเภอ          ท่ายาง                           .
จัดหวัด        เพชรบุรี       มี  เนื้อที่          ๖        ไร่            ๕๓           งาน         -       ตารางวา
มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน  คือ  โฉนดที่ดิน            เลขที่          ๓๐๔๐                         .  
 ๖.แปลที่ ๖ ตั้งอยู่ที่ ตำบล        มาบปลาเค้า          อำเภอ          ท่ายาง                           .
จัดหวัด        เพชรบุรี       มี  เนื้อที่          ๗        ไร่            ๒           งาน         ๕๗       ตารางวา
มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน  คือ  โฉนดที่ดิน            เลขที่          ๓๐๔๑                        .   
 ๗.แปลที่ ๗  ตั้งอยู่ที่ ตำบล        ท่ายาง          อำเภอ          ท่ายาง                           .
จัดหวัด        เพชรบุรี       มี  เนื้อที่          ๑        ไร่            ๒           งาน         ๖๖       ตารางวา
มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน  คือ  โฉนดที่ดิน            เลขที่          ๑๙๕๕๓   
 ๘.แปลที่ ๘ ตั้งอยู่ที่ ตำบล        ท่ายาง          อำเภอ          ท่ายาง                           .
จัดหวัด        เพชรบุรี       มี  เนื้อที่         ๑๑        ไร่            ๓           งาน        ๕๗       ตารางวา
 มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน  คือ  โฉนดที่ดิน            เลขที่          ๑๑๒๔๒                .  
๙.แปลที่ ๙ ตั้งอยู่ที่ ตำบล        ท่ายาง          อำเภอ          ท่ายาง                           .
จัดหวัด        เพชรบุรี       มี  เนื้อที่          ๗        ไร่            ๒           งาน         ๙๘       ตารางวา
มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน  คือ  โฉนดที่ดิน            เลขที่          ๓๑๙๖๙              .   
 ๑๐.แปลที่ ๑๐ ตั้งอยู่ที่ ตำบล        มาบปลาเค้า          อำเภอ          ท่ายาง                           .
จัดหวัด        เพชรบุรี       มี  เนื้อที่          ๘        ไร่            ๒           งาน         -       ตารางวา
มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน  คือ  โฉนดที่ดิน            เลขที่          ๑๙๕๕๓   
 ๑๑.แปลที่ ๑๑ ตั้งอยู่ที่ ตำบล        ท่ายาง          อำเภอ          ท่ายาง                           .
จัดหวัด        เพชรบุรี       มี  เนื้อที่          ๗        ไร่            ๒           งาน         -       ตารางวา
มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน  คือ  โฉนดที่ดิน            เลขที่          ๘๓๓๙                   .   
            ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดและบริเวณโดยรอบ     ด้านทิศเหนือติดหมู่บ้านเขากระจิว   ด้านทิศตะวันตกติดหมู่บ้านเขากระจิว   ด้านทิศตะวันออกติดภูเขากระจิว   ด้านทิศตะวันตกติดภูเขาน้อยกระจิว พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม    ทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันตก  ติดชุมชนหมู่บ้านเขากระจิว           .
            อาคารเสนาสนะต่าง ๆ (หากมีจิตรกรรมฝาผนังให้ระบุไว้ด้วย) มี
            อุโบสถ  กว้าง            ๔๐       เมตร  ยาว       ๘๐      เมตร      สร้างเมื่อ พ.ศ.    ๒๕๑๒    . เป็นอาคาร    คอนกรีตเสริมเหล็ก , หลังคามุงกระเบื้องโครงหลังคาไม้เนื้อแข็ง                .
            ศาลาการเปรียญ  กว้าง     ๑๔     เมตร  ยาว    ๕๒    เมตร      สร้างเมื่อ พ.ศ.    ๒๕๒๕    . เป็นอาคาร           ครึ่งปูนคอนกรีตเสริมเหล็กครึ่งไม้เนื้อแข็ง.                                         .
            อาคารพิพิธภัณฑ์  กว้าง      ๑๙.๓๐       เมตร  ยาว       ๑๙.๓๐      เมตร      สร้างเมื่อ พ.ศ.    ๒๕๓๔       . เป็นอาคาร  คอนกรีตเสริมเหล็ก จตุรมุขทรงไทยประยุกต์  จำนวน  ๑ หลัง                   .
            หอสวดมนต์  กว้าง            -       เมตร  ยาว       -      เมตร      สร้างเมื่อ พ.ศ.    -              . เป็นอาคาร     -                                                                                   สร้างเมือ  พ.ศ.                   .
            กุฎิสงฆ์ จำนวน     ๑๒   หลัง เป็นอาคารไม้        ๑๐  หลัง  ครึ่งปูนครึ่งไม้    -      หลัง

และตึก     ๒    หลัง   วิหาร กว้าง            -            เมตร    ยาว     -      หลัง  สร้างเมื่อ พ.ศ.           .

            ศาลาเอนกประสงค์ กว้าง        -            เมตร    ยาว     -      หลัง  สร้างเมื่อ พ.ศ.           .
เป็นอาคาร                                                                                       หลัง  สร้างเมื่อ  พ.ศ.             .

            ศาลาบำเพ็ญกุศล  จำนวน      ๑        หลัง  สร้างด้วยคอนกรีต      -   หลัง สร้างด้วยไม้ฉาบปูน

 นอกจากนี้มีอาคารเสนาเสนะต่าง ๆ  ดังนี้ คือ                                                                                    .
                                                                                                                                                   .
            ปูชนียวัตถุและโบราณวัตถุ (โดยกล่าวอย่างละเอียด ถึงลักษณะขนาดและปี พ.ศ. ที่สร้างของปูชนียวัตถุ  หรือโบราณวัตถุ  เช่น  ประธาน  พระพุทธรูปต่าง  ๆ   โบราณวัตถุ  ศิลปวัตถุ  เจดีย์ปรางค์ และของมีค่าอื่นอันเป็นสมบัติยองวัด)
 

โบราณสถานและโบราณวัตถุ ภายวัด พระอุโบสถ

          พระอุโบสถหลังแรก เริ่มสร้างในปี พ.ศ. – เป็นพระอุโบสถสองชั้นหลังแรกในประเทศไทยซึ่งได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม  รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๕  พระพุทธศาสนกาล ๒๔๔๙  พรรษา  เปนวันที่  ๑๓๗๑๕  ในรัชกาลปัตยุบันนี้ ปี มะเมีย จ.ศ.๑๒๖๘ ปีที่  ๓๙  รัชสมัย  รัชกาลที่  ๕
          ความจำเป็นที่ต้องสร้างพระอุโบสถเป็นสองชั้น เนื่องจากพื้นที่ทั่วไปของวัดเป็นที่ราบลุ่มในฤดูฝนน้ำหลากมามากมีน้ำท่วมใหญ่ทุกปี  โดยระดับน้ำจะสูงประมาณ  ๒-๓ เมตร  จึงต้องสร้างเพื่อยกระดับพื้นให้พ้นจากน้ำ
            ตำราทำปูนให้การก่อสร้าง  จากภูมิปัญญาของคนเมืองเพชร   ชนชาวเมืองเพชรมีภูมิปัญญา ในการทำปูนขาวขึ้นใช้ในการก่อสร้าง  ทั้งปูนก่อ  ปูนโบกและปูนปั้นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองมาแต่ดึกดำบรรพ์
            พระเทพวงศ์จารย์(อิน อินฺทโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดยาง และอดีตเจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี(มหานิกาย) ซึ่งวัดยางนี้ในวงการศึกษาถือว่าโรงเรียนสารพัดช่างแห่งแรกของเมืองเพชร  ท่านเจ้าประคุณหลวงพ่อได้เล่าถึงตำราเก่าแก่ของเมืองเพชรในการทำปูนก่อสร้าง ตั้งแต่เรายังไม่มีซีเมนต์ใช้ดังนี้
            ปูนที่ใช้ในการก่อสร้างสมัยก่อนคือปูนขาว  ทำจากการเผาหินก้อนเขื่อง ๆ  พอคนยกไหวสกัดจากภูเขาด้วยการเจาะด้วยเหล็กเจาะ  แล้วเอาสายชนวนพร้อมด้วยดินระเบิดกรอกใส่ลงไปจุดไฟให้ระเบิดแตกออกแล้วเอาไปกองรวมกันในเตาสำหรับเผา  ก่อไฟเผา  ทั้งวันทั้งคืนกว่าจะสุก  แล้วหินทั้งหมดจะกลายเป็นสีขาวแล้วเอาน้ำรดหินก็จะแตกออกเป็นผุยผงสีขาว
            ต่อจากนั้นทำคอกหมักปูนขาวเพื่อให้เหนียว  นำปูนขาวทั้งหมดใส่ลงในคอกนำทรายที่ร่อนจนละเอียดที่สุดแล้วผสมลงไปตามสัดท่านที่ต้องการ  หั่นหนังวัวให้บาง ๆ ชิ้นเล็ก ๆ ให้มากพอแล้วแล้วใส่ลงไปด้วยรดน้ำและเคล้าเรื่อยไปให้ทั่ว  ใช้เวลาในการหมักเป็นเดือน  ปูนขาวนั้นก็จะค่อย ๆ เหนียวขึ้น จนสามารถจนไปใช้ได้ตามต้องการ
            หากจะทำเป็นปูนปั้นลวดลายต่าง ๆ ให้ผสมน้ำตาลโตนด และกระดาษฟางลงไปหรือใช้น้ำอ้อยด้วย แล้วโขลกตำให้เหนียว  แล้วคนด้วยไม้และสากตำข่าวเปลือกขนาดใหญ่ต้องตำกันอย่างหนักด้วยคนรูปร่างกำยำล่ำสันสักหน่อย  เพื่อให้ได้ปูนตำที่ละเอียดโบกได้เรียบ  ปั้นลาวลายได้อ่อนช้อยสวยงาม
            หากว่าต้องการให้ผิวอาคารเป็นมันเลื่อนให้ใช้ใบตองแห้งจากต้นกล้วยมาเผาไฟให้เป็นขี้เถ้าผสมใสในขณะโขลกปูนด้วย เมื่อโบกผิดเรียบแห้งแล้วผิวจะเรียบขึ้นมัน  หากใช้ขวดแก้วขนาดจับพอเหมาะมือขัดไป-มาบนผิวปูนนั้น  ผิวก็จะเกลี้ยงเป็นในชัดขึ้นมา
            ลักษณะของพระอุโบสถ  “วัดบรรพตาวาส” นั้นเป็นสถาปัตยกรรมแบบ  ยุโรป  ผสมผสานไทย-จีน  แต่ไม่ได้เน้นความสวยงามด้วยศิลปะลวดลายเท่าใดนั้น  กลับเน้นทางด้านคุณประโยชน์มากกว่า  ซึ่งคงจะเกิดจากเจตนารมณ์ของท่านผู้สร้าง  ว่าสร้างวัดถวายพระสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระมาใช้คันถธุระ  จึงไม่ได้เน้นความสวยงามเท่าใดนัก  คงเน้นด้านคุณประโยชน์เท่านั้น
            การที่พระอุโบสถแบบนี้จะมีหน้าต่าง ๔ ช่อง  ก็ดูไม่แปลก แต่การที่มีประตูหน้าข้าง คือทางทิศเหนือและทิศใต้  ตรงช่วงกลางของผนังแต่ไม่มีบันไดสำหรับเดินลงนั้นดูแปลก  แม้พระ-เณรทุกวันนี้บางรูปก็ไม่เข้าใจ  มักคิดว่าทำไมจึงทำหน้าต่าง  ช่องนี้ ใหญ่โตเหมือนประตู
            ประตูด้านข้างทั้งสองประตู  จะเจาะตรงกับอาสนะยกพื้นสำหรับพระสงฆ์นั่งพอดี การทำไว้ดังนี้  เพื่อเปิดใช้ในยามที่น้ำหลากท่วมวัด  พระ-เณรจะได้นั่งเรือ  เข้าจอดเทียบประตูพระอุโบสถ  เข้า-ออกได้สะดวกไม่ต้องเบียดเสียด  กับประชาชน  ชาย-หญิง  ที่จะเข้าร่วมพิธีกรรมบางอย่างทางด้านหน้าพระอุโบสถ
            มีผู้กราบทูลสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณโรรส  เมื่อครั้งที่เสด็จทรงประทานนามวัดและประทับแรมที่วัดนี้  ถึงสภาพพระอุโบสถ และพื้นที่ทั่วไปภายในบริเวณวัด  จึงได้ตรัสแนะนำให้สร้างพระอุโบสถใหม่บนภูเขานั้นจะได้พ้นจากน้ำท่วม  การสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ตามพระดำรัสแนะนำนั้นได้สำเร็จเสร็จสิ้นลง  ในสมัยของหลวงพ่อพระครูโสภิตธรรมาภรณ์(เจ้าอาวาส) พ.ศ.๒๕๑๒-๒๕๒๖
 
พระประธาน
          ในพระอุดโบสถ์เก่าของวัด  มีพระพุทธปฏิมาประธานขนาดใหญ่ถึง  ๓ องค์ ทางซ้ายมือหรือด้านทิศใต้จะมีฉัตรทองเหลือกั้นอยู่เหนือพระเศียร เป็นพระพุทธรูปหล่อจากทองเหลืออัญเชิญมาจากกรุงเทพฯ  เป็นพระประธานสมัยที่หลวงพ่อพระอธิการกฤติย์  ทสฺสโน  เป็นเจ้าอาวาส  มีขนาดหน้าตัก  ๒ ศอกคืบ  ส่วนองค์กลางซึ่งใหญ่กว่าองค์อื่น ๆ  นั้น ขนาดหนาตัก ๓ ศอก และองค์ทางขวามือหรือด้านทิศเหนือขนาดหน้าตัก ๒ ศอกคืบ  เป็นพระปูนปั้นทั้งสององค์ เป็นพระประธานที่สร้างขึ้นในสมัยหลวงพ่อพระอธิการกฤติย์ ทสฺสโน เป็นเจ้าอาวาส
            ชรอยพุทธบริษัทที่เป็นศิษย์ของวัดบรรพตาวาสตั้งแต่รุ่นแรกที่สร้างวัดมา  จะได้รับการศึกษา อบรมให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสยิ่งในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า  จึงมากันนิยมสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่  ไว้เป็นพระประธานในพระอุโบสถ  ด้วยถือว่าเป็นพุทธานุสติกรรมฐาน  จะได้ระลึกถึงพระพุทธรูปไปจนตาย ตามแล้วไม่ไปเกิดในอบายภูมิ  ด้วยจิตเป็นสมาธิมั่งคงในพระพุทธานุสตินั้น  และจะเป็นปัจจัยไปสู่พระนิพพานในที่สุด  แต่หากยังมีภพชาติอยู่  ถ้าจะเกิดมาเป็นที่ผู้มีศักดิ์ศรี  มีอำนาจวาสนาบารมีสูง  มีอิทธิพลมาก  เป็นที่เคารพนับถือเกรงกลัวของชนทั่วไป  ด้วยนั้นจึงไม่มีใครคิดสร้างพระอัครสาวก ซ้าย-ขวาเลย จวบจนในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ จึงได้มีการสร้าง อัครสาวกซ้าย-ขวา
อระฆัง 
          เป็นที่น่าเสียดายว่าหอระฆังเดิม คงมีให้เห็นเพียงแต่รูปภาพเท่านั้น อันเป็นศิลปะผสมผสานระหว่างไทย-จีน-ยุโรป  ซึ่งเป็นการก่อสร้างโดยเสด็จพระราชกุศล  ดำเนินตามรอยพระยุคลบาทแห่งพระราชวิเทโศบาย ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔  อันทรงต้องการให้เมืองเพชรบุรีเจริญรุ่งเรืองด้วยสิ่งก่อสร้าง  อันเป็นสถาปัตยกรรมยุโรปผสมผสานไทยจีน
            แต่ทั้ง  ๆ  ที่ถาวรวัตถุนี้  มิได้สร้างขึ้นแกะกะกีดขวางหรือบังถาวรวัตถุสิ่งก่อสร้างอื่นใด แต่ก็กลับแกะกะกีดขวางสายตาของบุคคลบางซึ่งเป็นเพียงชาวบ้านธรรมดา ๆ  แต่วางอำนาจบาทใหญ่เหนือเจ้าอาวาสในยุคสมัยนั้น  ซึ่งเป็นป่วยโรคอัมพาต  พูดไม่ได้ ได้แต่นั่งมองตาปริบ ๆ  น้ำตาซึมแก้มคือ หลวงพ่อ พระครูโสภิตธรรมาภรณ์ (ทอง สุมโน) แม้พระสงฆ์สามเณรรูปอื่น ๆ  ในวัดก็มิบังอาจปริปากได้
            ดังนั้นหอระฆังอันงดงามมากด้วยคุณค่าศิลปะวัตถุ  จึงถูกทำลายลงในปี พ.ศ. ๒๕๒๕  อันเป็นยุคทมิฬของวัดบรรพตาวาส(เขากระจิว)ทีเดียว
 
พระบรมธาตุเจดีย์ และอภินิหารของพระธาตุ
          ไม่มีผู้ใดนอกจากหลวงพ่อพระอธิการกฤติย์  ทสฺสโน  เจ้าอาวาสองค์แรกของวัด ได้เริ่มก่อสร้างพระเจดีย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๔๖๒  โดยสีมือช่างเพียว  จิวเซ่ง  ต้นตระกูลจิวเซ่ง  ชาวบ้านหมู่บ้านเขากระจิว ตามคำบอกเล่า  นายเพลิน พาลีบุตร  ซึ่งในขณะนั้นอายุได้  ๘๑ ปี พ.ศ. ๒๕๒๖  (ปัจจุบันได้เสียชีวิตไปแล้ว
            ชาวบ้านหลายท่านในหมู่บ้านเขากระจิว เคยได้เห็นได้ทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่พระบรมธาตุเจดีย์  เหมือนกับคุณตอม เศรษฐบุตร  ซึ่งมีที่พำนักอยู่ใกล้วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ได้มาพักที่บ้านใกล้เขากระจิว ก็ได้เห็นเหตุการณ์ (คำบอกเล่าของพระครูกัลยาณวุฒิกร อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๔)
                        หมอโฮม  คำข้อง ชนชาวกระจิว อาชีพเลี้ยงควายและเป็นหมอรักษาโรคทางไทยศาสตร์เป็นผู้มีศีล ๕  เคร่งครัดตลอดชีวิต  มีสัจจะในการดำรงชีวิตเฉพาะตน ก็เคยเห็นเคยทราบเหตุการณ์นี้  มาเช่นกัน  นั่นคือในตอนกลางคืน  ยามดึกสงัด จะมีแสงสว่างสีเขียวมรกตดวงกลมโตคอยช้า ๆ เวียนประทักษิณ(เวียนขวา) รอบยอดเขากระจิว ๓ รอบ แล้วหายเข้าไปในองค์พระเจดีย์นั้น
            หลวงพ่อพระอธิการกฤติย์  ทสฺสโน  ได้ทำการก่อสร้างพระธาตุเจดีย์นั้นโดยจ้างช่างชื่อ เจ็กเพียว จิวเซ่ง  คนรูปร่างใหญ่  ร่างกายกำยำล่ำสันอยู่ในหมู่บ้านกระจิว  ขนปูน หิน  ทราย  ขึ้นไปก่อสร้างพระธาตุเจดีย์ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๔๖๒
            ลักษณะรูปทรงเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่มีฐาน  ชั้น  ตรงกลางจากฐานชั้นล่างเป็นลักษณะทรงกระบอกสูงขึ้นไป  มีเสาโดยรอบทำเป็นซุ้มโค้ง  แต่ไม่มีบันได้ขึ้นไปสู่ฐานชั้นบนได้  ซึ่งมีระเบียงโดยรอบ มีพื้นปูด้วยไม้มะค่าลิง องค์เจดีย์ตรงกลางเป็นรูปทรงระฆังคว่ำแบบธรรมดา  ไม่ชัดเจนว่าจะเป็นศิลปะแบบใดสมัยใด
            มีการบูรณะพระเจดีย์เป็นครั้งใหญ่  ครั้งสุดท้าย เมื่อ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ สมัยพระครูกัลยาณวุฒิกร อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๔ มีการขุดค้นพบลังไม้ ๑ ลัง  ซึ่งบรรจุคนโฑ  ๑ ใบ  อยู่ในเจดีย์  มีสิ่งที่มีลักษณะเหมือนเพชรหรือพลอยอีก ๑ เม็ด  ซึ่งได้พบในสมัยหลวงพ่อพระอธิการกฤติย์  ทสฺสโน เป็นเจ้าอาวาส
            ในการบูรณะได้มีการเปลี่ยนพื้นไม้มะค่าลิง  เป็นพื้นซีเมนต์  ตั้งแต่ฐานชั้นล่างตลอดถึงยอดเจดีย์โบกซีเมนต์ใหม่ทั้งหมด และมีการเปลี่ยนรูปทรง ตรงคอระฆังต่อกับส่วนยอดเจดีย์เล็กน้อย  เหลี่ยมกลมรอบเจดีย์เป็นลักษณะเหลี่ยมมลกลม  เมื่อมีการบูรณะได้เปลี่ยนจากเหลี่ยมมลกลมเป็นเหลี่ยมกลางคม(ลักษณะตัววี) ราบขึ้นบนราบลงล่าง ตั้งแต่คอระฆังถึงฐานชั้นบนโดยรอบ
 
พระพุทธรูปในถ้ำ
          เมื่อมีภูเขาก็ต้องมีถ้ำ เขากระจิวนี้มีถ้ำอยู่มากมายประมาณ ๓๐๐ กว่าถ้ำ  แต่เท่าทีมีชื่อเรียกกันปรากฏอยู่เป็นภาษาไทยบ้าง ลาวบ้าง ซึ่งเป็นชาวบ้านแถบนั้น คือ ถ้ำเจ็กสุ่น, ถ้ำประทุม, ถ้ำเถรเก่ง,  ถ้ำสั้ว,  ถ้ำไทรหนองขาว, ถ้ำไทร, ถ้ำแป่วด่าง,  ถ้ำแฝ่,  ถ้ำโก่, ถ้ำแจงอยู่ท้ายเขา,  ถ้ำสมิง,  อยู่เคียงยอด  ถ้ำถ้วยชาม, อยู่ใกล้หน้าผาหุ่นคน,(๒ คน) ถ้วยชาม, ที่อยู่ระหว่างถ้ำมืดและถ้ำสว่าง
            ถ้ำที่มีความสำคัญอยู่ในปัจจุบัน คงมีเพียง ๒ ถ้ำ คือ ถ้ำมืด, ถ้ำสว่าง,  จะกล่าวถึงภายในถ้ำสว่างก่อน
            เมื่อเดินขึ้นเขาจะต้องถึงถ้ำสว่างก่อน พระในถ้ำน้ำมีเป็นพระปูนปั้นเป็นพระพุทธรูปที่มีการก่อสร้างในสมัย หลวงพ่อ พระอธิการกฤติย์  ทสฺสโน  ผู้ปกครองวัดซึ่งท่านได้ก่อสร้างทั้งหมด ๒๔๔๙-๒๔๗๓ ตามสำเนาเอกสารที่ พระอธิการกฤติย์ได้บันทึกเอาไว้  ๒๖  มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๓
            ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๓ หลวงพ่อกฤติย์  ทสฺสโน  ได้มีบันทึก ลายลักษณ์อักษรเป็นตัวหนังสือสั่งหลวงพ่อแผน  ปภากโร  ไปก่อนจะลาจากวัดไปเดินธุดงค์ว่า
            ของกัปปยิการกที่ท่านแผนทำบาญชีไว้  ให้เด็กเก็บไว้นั้น  ให้โยมเอี่ยนกับโยมแย้มพร้อมกัน  เอาออกตรวจดูยังเหลืออยู่เท่าไร  ให้เอาสร้างพระนอนในถ้ำที่ฉันทำไว้นั้นให้หมด  แล้วอุทิศไปให้ฉันด้วย  จึงถือว่าเอาว่าเป็นการสร้างพระรูปปางไสยาสน์เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒  นั้น
          ภายในถ้ำมีพระพุทธรูป ปางสมาธิ ๒ องค์ หน้าตักขนาดศอกเศษ  และปางมารวิชัย หน้าตักประมาณศอกคืบ อีก ๓ องค์
            มีรอยพระพุทธบาทจำลอง หล่อด้วยทองเหลือ ขนาดกว้าง ๑ ศอก ยาว ๓  ศอก หย่อนฝ่ามือ
            พระพุทธไสยาสน์ที่สถิตอยู่ในถ้ำสว่างเขากระจิว  มีคำจารึกเป็นรอยปูนปั้นไว้ที่หมอนสามเหลี่ยมหนุนแขนพระพุทธรูปไสยาสน์ ว่าดังนี้
            ที่ขอบหมอนด้านซ้ายว่า  วัดบรรพตาวาศ  พ.ศ.๒๔๗๔
            ที่ขอบหมอนด้านขวาว่า  รัตนโกสินทร์ศก ๑๕๐
            ที่ขอบหมอนด้านล่างว่า ปีมะแม ๑๓ เดือน ๔  พ.ศ. ๗๔ จ.ศ.๑๒๙๓ (คงจะหมายว่าปีที่สร้างเสร็จ  คือปีมะแม  วันที่ ๑๓ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๗๔ จ.ศ.๑๒๙๓ ซึ่งเป็นปลายปี เพราะสมัยนั้น นับเมษายน เป็นต้นปี
            ตรงกลางหมอนจารึกพระนามว่า “พระพุทธไสยาสน์ ธรรมรังษี”
            ขนาดของพระพุทธไสยาสน์ ยางประมาณ ๕ เมตร สูงประมาณ เมตรครึ่ง
           
            ต่อไปเมื่อออกจากถ้ำสว่างแล้วจะมีทางเดินสูงขึ้นไปอีกนิดก็จจะเข้าสู่ถ้ำมืด  ภายในถ้ำนี้ต้องมีไฟฉายที่สว่างมาก  ๆ  ติดตัวเข้าไปด้วยจะพบได้ว่ามีพระพุทธรูปบางสมาธิบ้าง มารวิชัยบ้าง มากมายเยอะแยะ  สร้าง